วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรมที่ 3 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์



1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ           2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล 
          3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน 
          4. การลงมือทำโครงงาน 
          5. การเขียนรายงาน 
          6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน 

1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ      
โดยทั่ว ไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กัน ดังนี้
          1. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ
          2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
          3. การ ฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับ บุคคลอื่นๆ
          4. กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
          5. งานอดิเรกของนักเรียน
          6. การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์

ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
          1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
          2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
          3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
          4. มีเวลาเพียงพอ
          5. มีงบประมาณเพียงพอ
          6. มีความปลอดภัย  



2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล

การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้ เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผน ดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า
          1. จะทำ อะไร 
          2. ทำไมต้องทำ 
          3. ต้องการให้เกิดอะไร 
          4. ทำอย่างไร
          5. ใช้ทรัพยากรอะไร
          6. ทำกับใคร
          7. เสนอผลอย่างไร  

3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน
    

     4. การลงมือทำโครงงาน 
         
 เมื่อ เค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้
     4.1 การเตรียมการ 
          การ เตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
     4.2 การลงมือพัฒนา 
          1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
          2. จัด ระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่่อยทำ ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
          3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน
     4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข 
          การตรวจ สอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความ ต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย
     4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ 
          เมื่อ พัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำ ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย
     4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
          เมื่อทำ โครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไป ได้ 






    5. การเขียนรายงาน 
          การเขียน รายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้
     5.1 ส่วนนำ 
          ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงานสำเร็จ
          5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ
     5.2 บทนำ 
          บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
          1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า
          3. ขอบเขตของโครงงาน
     5.3 หลักการและทฤษฎี 
          หลักการ และทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่ม เติมด้วย 
     5.4 วิธีดำเนินการ 
          วิธี ดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน 
     5.5 ผลการศึกษา 
          ผลการ ศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก 
     5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 
          สรุปผล และข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำ งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้าน สมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำ ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่อง ทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย 
     5.7 ประโยชน์ 
          ประโยชน์ที่ได้รับ จากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย 
     5.8 บรรณานุกรม 
          บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำ โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำ โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย 
     5.9 การจัดทำคู่มือการใช้งาน 
          หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำ เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อผลงาน
          2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
          3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
          4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำ หน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก
          5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชันหนึ่งๆ  
Cr. http://www.happyreading.in.th/_file/download/aaa.jpg

        6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
          
การนำ เสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้          
1. ชื่อโครงงาน 
          2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน 
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา 
          4. คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          5. วิธีการดำเนินการที่สำคัญ 
          6. การสาธิตผลงาน
          7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน


Cr.Cr. http://www.acr.ac.th



cr. https://www.youtube.com/watch?v=W_e984s4IQ4


วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

ใบงานที่6 โครงงาน

แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร6
ปีการศึกษา2559
ชื่อ โครงงาน อาหารเพื่อสุขภาพ


ชื่อผู้ทำโครงงาน
1 นางสาวณัฐกานต์ วรรณติ  เลขที่ ๑๓
๒ นาย ณัฐพล ใหม่เฟย เลขที่ 14 

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๕


ชื่ออาจาร์ยที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ
ระยะเวลาดำเนินโครงงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษษ2559
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34















ใบงาน
การจัดทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์

สมาชิกในกลุ่ม  
    1.      นาย ณัฐพล ใหม่เฟย เลขที่14 
๒.      นางสาว ณัฐกานต์ วรรณติ เลขที่ ๑๓

คำชี้แจง  ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้

ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)
อาหารเพื่อสุขภาพ
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)          
Health Food

ประเภทโครงงาน การศึกษา
ชื่อผู้ทำโครงงาน   นาย ณัฐพล ใหม่เฟย
                          นางสาว ณัฐกานต์ วรรณติ

ชื่อครูที่ปรึกษา ครู เขื่อนทอง มูลวรรณ์
ชื่อที่ปรึกษาร่วม -
ระยะเวลาดำเนินงาน

            1 เดือน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
             ในปัจจุบันนี้ผู้คนสนใจการออกกำลังกายกันมากขึ้นเพื่อต้องการที่จะมีสุขภาพที่ดี โดยการมีสุขภาพที่ดีนั้นต้องประกอบได้การกินกิน การพักผ่อน การออกกำลังกายด้วย อาหารเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพ กินดีชีวิตดี กินแย่ชีวิตแย่ และเนื่องด้วยปัจจุบันนี้ผู้คนต่างรีบเร่งในการทำอะไรหลายๆอย่างรวมถึงการเลือกอาหารในเวลาเร่งรีบ มีอาหารมากมายให้เราได้เลือกกิน ทั้งอาหารแบบกล่อง แบบแช่แข็ง แบบสำเร็จรูป ล้วนมีโภชนาการที่ต่างกัน ทำให้ได้รับสารอาหารบางอย่างเยอะเกินไปบางอย่าน้อยเกินไป เกิดปัญหาโรคต่างตามมาเช่น ได้รับอาหารประเภทแป้งเยอะเกินไป เกิดเป็นโรคอ้วน นับอาหารรสชาติเค็มมากๆเกิดเป็นโรคไต ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้นมาเพื่อศึกษาถึงอาหารเพื่อสุขภาพที่ช่วยสร้างศักยภาพให้แก่ร่างกายทั้งด้านกล้ามเนื้อ ต่างๆสำหรับคนที่ ต้องการจะลดน้ำหนักสรา้งกล้ามเนื้อให้มาแทนที่ของไขมัน โดยต้องอาศัยอาหารแต่ละชนิดแตกต่างกันทั้งปริมาณและประเภทของสารอาหารที่ต้องการจะได้รับให้เพียงพอในแต่ละวัน อาจจะต้องมีตารางการรับประทานอาหารต่างๆอีกด้วย เช่น อาหารให้ได้วันละ 5-6 มื้อ และ แต่ละมื้อควรเป็นอาหารที่อิ่มได้พอดีในมื้อนั้น เพื่อที่จะได้เผาผลาญให้หมดจดในมื้อนั้นเลย ทุกมื้อ ควรมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบราว 25-30 กรัมกำลังดี เพราะร่างกายเราดูดซึมโปรตีนได้ครั้งละ ราวๆ 30 กรัม กินมากกว่านั้นก็ถูกสะสมเป็นไขมันครับ หรือไม่ก็ขับทิ้งออกไป ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายอีกด้วย เพราะฉะนั้นถ้ากิน 3 มื้อก็จะได้โปรตีนแค่วันละ 90 กรัม ถ้ากิน 6 มื้อก็ 180 กรัม แบ่งเป็น 6 มื้อจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญคาร์บได้หมดด้วย ไม่เหลือสะสมเป็นไขมัน กินผักผลไม้ให้มากๆ เพราะช่วยในการขับถ่าย โดยเฉพาะ ผักใบเขียว กินได้ไม่อั้น เพราะนอกจากทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังมีแคลเซียมอีกด้วย


วัตถุประสงค์ 
       1.เพื่อศึกษาถึงอาหารที่มีผลต่อสุขภาพ
       2.เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มาศึกษาหาความรู้จากโรงงานนี้

ขอบเขตโครงงาน
       ขอบเขตคืออาหาร การกินที่ช่วยสรา้งกล้ามเนื้อ
หลักการและทฤษฎี
        ในยุคของการแข่งขัน ที่เรากำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน ชีวิตมีความรีบเร่งมากขึ้น จนไม่ค่อยมีเวลาที่จะให้ความสำคัญกับเรื่อง ความสมดุลของอาหารที่รับประทานรวมทั้งค่านิยมการรับประทานอาหารแบบตะวันตก ซึ่งประกอบด้วย เนื้อสัตว์ ไขมัน นม เนย เป็นส่วนใหญ่ ทำให้คนไทยมีโรค ซึ่งเกิดจากการกินดีเกินไป เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอัมพาต ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนเกี่ยวกับความเสื่อมของหลอดเลือด
        ในปัจจุบันชาวตะวันตกเริ่มตระหนักถึงพิษภัยของการกินอาหาร ซึ่งไม่สมดุลได้มีการชักชวนให้ลดการรับประทาน เนื้อสัตว์ นม เนย ให้เพิ่มการรับประทาน พืช ผัก และธัญพืช ซึ่งอุดมด้วยเส้นใยจากธรรมชาติ และวิตามิน 
        ในวัยเด็ก เนื้อสัตว์และนม ยังเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากร่างกายมีการเจริญเติบโตในวัยผู้ใหญ่ร่างกายต้องการโปรตีนลดลง การรับประทานเนื้อสัตว์ และนมมากเกินไปยังทำให้ร่างกายได้รับไขมันเพิ่ม เนื่องจากในเนื้อสัตว์และนมจะมีปริมาณไขมันค่อนข้างสูง นอกจากนั้นยังพบว่า ผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์มาก ๆ มีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้สงูควรเปลี่ยนแปลงมารับประทานโปรตีนจากพืชพวกถั่วแทน 
        อาหารอีกกลุ่มซึ่งไม่ควรรับประทานมากเกินไป คือ น้ำตาล พบว่าน้ำตาลทำให้หลอดเลือดมีความเสื่อมเร็วขึ้น ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสูงจะพบว่าหลอดเลือดแก่ก่อนวัย ไขมันก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ควรจำกัด และใช้น้ำมันจากพืชแทน น้ำมันจากสัตว์ ยกเว้นน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากมีโคเรสเตอรอลสูง
        อาหารที่ควรรับประทานคือ ผัก ผลไม้ ธัญพืช เช่น ข้าวซ้อมมือ ถั่ว เพราะอุดมไปด้วย กากใยธรรมชาติ วิตามิน และเกลือแร่
         อาหารสุขภาพ ช่วยดำรงส่งเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงของการเกิดโรค สามารถรับประทานได้ในคนปกติ รวมทั้งคนป่วย เพราะอาจลดความเสี่ยงในโรคที่อาจจะเกิดร่วมขึ้น หรือป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาหรือทำให้สุขภาพดีขึ้น ได้ประโยชน์มากขึ้นกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารสุขภาพทุกชนิดของกิฟฟารีนมีงานวิจัยถึงคุณประโยชน์อย่างชัดเจนและสามารถแนะนำได้ในหลายโรคด้วยกัน   เช่น
1.เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
2.เพิ่มศักยภาพให้ระบบต่อต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant)
3.ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเเละหลอดเลือด
4.ลดความเสี่ยงต่อโรคลมปัจจุบัน
5.ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
6.ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อต่ออักเสบ ความเสื่อมเฉพาะจุด  เเละโรคต้อกระจก
7.ลดความเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์  พากินสัน  โรคหืดหอบ โรคปอด เเละโรคที่เกิดจากความเสื่อมชนิดเรื้อรังอื่นๆ
8.พัฒนาการรักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมเรื้อรังอย่างมีประสิทธิภาพ


อาหารสุขภาพเพิ่มกล้ามเนื้อ เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย

ข้าวกล้อง  เป็นข้าวที่ไม่ผ่านการขัดขาว หรือข้าวที่เพียงแค่กะเทาะเอาเปลือกออกเท่านั้น ทำให้เมล็ดข้าว ยังมีเยื่อและเส้นในหุ้มอยู่  ซึ่งจุดนี้เองที่เป็นแหล่งอุดมไปด้วย สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย  ได้แก่ แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, เหล็ก, ทองแดง, แมงกานีสและอื่นๆ ข้าวกล้องยังเป็นอาหารที่มีเส้นใยธรรมชาติสูง ทำให้ช่วยในระบบขับถ่ายอีกด้วย
สิ่งที่ทำให้ข้าวกล้อง เหมาะกับการเป็นอาหารสำหรับคนต้องการสร้างกล้ามเนื้อ ก็คือ มีโปรตีนอยู่ประมาณ 7-12% (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ข้าว)  แล้วยังอุดมไปด้วยวิตามินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน B1 วิตามิน B2 และวิตามินบีรวม ซึ่งผลการวิจัยจากหลายสถาบัน เกี่ยวกับข้าวกล้อง มีข้อมูลเปิดเผยว่า
ข้าวกล้อง มีวิตามิน B1 มากกว่าข้าวขาวปกติถึง 4 เท่า ทำให้คุณประโยชน์ของข้าวกล้อง นอกจาก จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอแล้วยังทำให้เราไม่เป็นโรคเหน็บชา, อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย, แขนขาไม่มีแรง และหัวใจล้มเหลวอีกด้วย

Cr. https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87&biw=1600&bih=745&source=lnms&tbm=isch&sa=X&sqi=2&ved=0ahUKEwjAmqH9psjRAhUjTo8KHcQDAV0Q_AUIBigB#imgrc=Q2HTjoSp2ynObM%3A



อาหารประเภทนม ได้แก่ นมผง, นมกล่อง, นมสด หรืออะไรก็ตาม ที่ทำจากนม ล้วนเป็นอาหารที่ให้โปรตีนกับร่างกายสูง ถือเป็นอาหารหลักๆ สำหรับคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ
นม ยังสามารถหาซื้อได้ง่าย และมีราคาไม่แพงด้วย นอกจากนี้ ภายในนมยังมี สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายค่อนข้างเยอะไม่ว่าจะเป็น วิตามิน A วิตามิน E วิตามิน K และแร่ธาตุต่างๆ เรียกได้ว่า เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อ การเจริญเติบโตของร่างกายเลยก็ว่าได้
Cr. https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87&biw=1600&bih=745&source=lnms&tbm=isch&sa=X&sqi=2&ved=0ahUKEwjAmqH9psjRAhUjTo8KHcQDAV0Q_AUIBigB#tbs=simg%3Am00&tbnid=zC3uu85thotrcM%3A&docid=1Ea8TBrKgLTzdM&tbm=isch&imgrc=QOF7Iu9wp-FyUM%3A






                    อาหารประเภทไข่  
ไข่ 1 ฟอง จะมีส่วนประกอบของโปรตีน ประมาณ 6 กรัมโดยเฉลี่ยประกอบด้วย ไข่ขาว 4 กรัม และไข่แดง 2 กรัม (อัตราส่วนจะเป็น 2 ต่อ 1) นอกจากนี้ ในไข่ยังมีแร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอยู่มาก  ทั้งไขมันที่จำเป็นวิตามิน D, วิตามิน B6วิตามิน B12เหล็กแคลเซียมฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ ล้วนจำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกาย
แต่คนที่อยากจะสร้างกล้ามเนื้อ และมีอายุค่อนข้างมากแล้ว อาจจะเน้นกินเฉพาะไข่ขาวเป็นหลัก เพราะในไข่แดง จะมีคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ


Cr. https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87&biw=1600&bih=745&source=lnms&tbm=isch&sa=X&sqi=2&ved=0ahUKEwjAmqH9psjRAhUjTo8KHcQDAV0Q_AUIBigB#tbm=isch&q=%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%88&imgrc=ssbBFYXCEn7lbM%3A


ตารางการกินเพื่อเพิ่ม กล้ามเนื้อ

มื้อหลังตื่นนอนทันที
เวย์โปรตีน 1 เซิฟผสมกับน้ำปล่าวเท่านั้น ห้ามนมนะครับ เพราะนมจะทำให้เวย์ย่อยได้ช้าลง ซึ่งการที่เรานอนหลับมา 8 ชั่วโมงทำให้ร่างกายต้องการสารอาหารที่ดูดซึมง่ายๆเร็วๆครับ


มื้อเช้า
ข้าวกล้อง 2 ทัพพี อาหารเมนูไข่ 4 ฟอง + ผัดผัก + นมขาดมันเนย มื้อนี้ต้องเป็นมื้อหนัก ต้องกินให้อิ่ม เพราะคุณนอนมาทั้งคืน 8 ชั่วโมงไม่มีอะไรตกถึงท้อง อย่าไปกินรวมกับมื้อกลางวันเพราะในการที่คุณอดข้าวเช้า ร่างกายก็จะนำโปรตีนที่คุณอุตสาห์เอามาสร้างเป็นกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงาน แทน เพราะตอนเช้าไม่มีอะไรตกถึงท้อง ก็ไม่มีอาหารมาให้พลังงานร่างกายจึงดึงโปรตีนมาใช้ ทำให้การเล่นกล้ามไม่ได้ผล และการอดมื้อเช้ายังทำให้ร่างกายหลั่งสารที่ทำให้หิวออกมามากกว่าปกติในมื้อ เย็นอีกด้วย

มื้อเที่ยง
ข้าวกล้อง 1 ทัพพี + เกาเหลาหมูไม่ใส่เครื่องใน + นมขาดมันเนย

มื้อว่าง
ไข่ต้ม 2 – 3 ฟอง กินแต่ไข่ขาวกับนมถั่วเหลือง 1 ขวด หรือกินกับกล้วยหอม 1 ผล หรือเป็นไก่ย่าง 1 – 2 น่องกับนมถั่วเหลือง 1 ขวด หรือกับกล้วยหอม 1 ผลครับ และตบท้ายเป็นแอปเปิ้ลหรือ ฝรั่ง 2 ชิน

มื้อเย็น
ข้าวกล้อง ครึ่งทัพพี ถึง 1 ทัพพี ถึง กับปลานึ่ง ปลาอะไรก็ได้ยกเว้นปลาดุก ถ้าจะทอดก็ต้องทอดกับน้ำมันมะกอกเช่นปลาทูนึ่ง หรือทอด ซัก 2 – 3 ตัวกับพวกผักจิ้มน้ำพริก และปิดท้ายด้วยนมพร่องมันเนย หรือจะกินเกาเหลาอีกมื้อก็ได้ไม่ว่ากันและ มื้อเย็นต้องห่างจากช่วงที่เราเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

มื้อหลังยกเวททันที
งานนี้เวย์โปรตีนเป็นพระเอก เพราะคุณสมบัติในการย่อยและดูดซึมได้เร็ว ซึ่งทำให้สามารถส่งสารอาหารเข้าสู่กล้ามเนื้อได้ทันทีเลย ถ้าจะให้ดีเติม BCAA และ L-Glutamine ด้วย ช่วยเร่งความเร็วในการ Recovery กล้ามเนื้อ

มื้อหลังยกเวทไปแล้ว 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
มื้อนี้เป็นมื้อจัดหนักพอๆกับมื้อเช้า เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการสารอาหารอย่างมากกินอะไรก็เข้ากล้ามหมดกินเหมือนมื้อเช้าเลยก็ได้ข้าวกล้อง 2 ทัพพี อาหารเมนูไข่ 4 ฟอง + ผัดผัก + นมขาดมันเนย หรือจะเพิ่มโปรตีนเข้าไปอีกก็ได้


มื้อก่อนนอน
เวย์ผสมนมได้เลยในมื้อนี้ เพราะจะทำให้เวย์ย่อยช้าลงและเข้าไปเติมโปรตีนให้กล้ามเนื้อเราระหว่างนอนหลับได้สำหรับมื้อนี้ไม่จำเป็น ถ้าใครทำได้ก็ดี แต่ทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร


เมนูอาหารสุขภาพ

ผักคะน้าผัดน้ำมันหอย 



ผักคะน้ามีปริมาณแคลเซียมสูงเทียบเท่ากับนมสด 1 แก้ว เมนูอาหารตัวอย่างที่ทำได้ง่ายคือ ผักคะน้าผัดน้ำมันหอย สูตรจาก นิตยสาร Mother&Ca
     • ผักคะน้า มีปริมาณแคลเซียม 245 มิลลิกรัมต่อผักคะน้า 100 กรัม (เทียบเท่ากับการดื่มนม 1 แก้ว)

ส่วนผสม ผักคะน้าผัดน้ำมันหอย     • ก้านคะน้าและยอดอ่อนหั่นท่อน
     • เห็ดหอมสด หั่นชิ้น (ล้างสะอาด)
     • พริกขี้หนูกับกระเทียมตำละเอียด 
     • เต้าเจี้ยว
     • น้ำมันหอย
     • น้ำตาลทราย
     • น้ำมันสำหรับผัด

วิธีทำผักคะน้าผัดน้ำมันหอย
   1. ตั้งกระทะใส่น้ำมันเล็กน้อย พอร้อนใส่พริกขี้หนูและกระเทียมตำลงไปผัดจนหอม ใส่เต้าเจี้ยวลงไป  
   2. ใส่เห็ดหอมและก้านคะน้าลงไปผัด
   3. ปรุงรสด้วยน้ำมันหอยและน้ำตาลทราย อาจเติมน้ำสะอาดลงไปเล็กน้อย เพื่อไม่ให้แห้งเกินไป คลุกเคล้าทุกอย่างให้เข้ากัน รอจนสุก ตักใส่จาน


ไข่เจียวพระอาทิตย์




     ปกติจะกินข้าวกล้องโปะไข่เจียว แต่ขี้เกียจกินข้าวคำ ไข่คำ ก็เลยจับมาผสมรวมกันกลายเป็นเมนูไข่เจียวพระอาทิตย์ สูตรจาก คุณ isweet สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม สูตรนี้ใส่ชะอมกับเห็ดเป๋าฮื้อด้วย ทอดกรอบ ๆ

ส่วนผสม ไข่เจียวพระอาทิตย์     • ไข่ไก่ (เบอร์ใหญ่) 1 ฟอง
     • ชะอมหั่นหยาบ ๆ 1/4 ถ้วย
     • ข้าวกล้องหอมมะลิสุก 1/4 ถ้วย
     • เห็ดเป๋าฮื้อหั่นเป็นชิ้น 1/4 ถ้วย
     • น้ำปลา (เล็กน้อย)
     • น้ำมันมะกอก

วิธีทำไข่เจียวพระอาทิตย์     1. ตีผสมไข่ไก่กับชะอม ข้าวกล้องสุก และเห็ดเป๋าฮื้อเข้าด้วยกัน ปรุงรสด้วยน้ำปลา เตรียมไว้
     2. ตั้งกระทะเทฟลอน ใช้ไฟปานกลาง ใส่น้ำมันมะกอกลงไปพอเคลือบกระทะ (ใช้ไฟไม่ต้องแรงเดี๋ยวไหม้ เพราะใช้น้ำมันน้อย)
     3. เทส่วนผสมไข่พระอาทิตย์ลงทอดในกระทะ เกลี่ยให้ส่วนผสมกระจายทั่ว ๆ
     4. พอไข่ด้านล่างเซตตัวแล้ว รอจนสุกเกรียมอีกนิด แล้วค่อยกลับด้าน ทอดจนสุกเหลืองทั้ง 2 ด้าน ปิดไฟ พร้อมเสิร์ฟ



ข้าวหน้าปลาแซลมอน






วิธีดำเนินงาน
แนวทางการดำเนินงาน
          การค้นคว้าในอินเตอร์เน็ตควบคู่การเปิดหนังสือประสอบ
          เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
                    คอมพิวเตอร์ และ หนังสือ
          งบประมาณ 30 บาท ค่ายืมหนังสือ

ขั้นตอนการดำเนินงาน

ลำดับ
ที่
ขั้นตอน
สัปดาห์ที่
ผู้รับผิดชอบ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17

1
คิดหัวข้อโครงงาน
✔ 

















2
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล

✔ 
✔ 
✔ 














3
จัดทำโครงร่างงาน




✔ 
✔ 
✔ 
✔ 
✔ 
✔ 








4
ปฏิบัติการสร้างโครงงาน










✔ 
✔ 






5
ปรับปรุงทดสอบ












✔ 
✔ 




6
การทำเอกสารรายงาน














✔ 
✔ 


7
ประเมินผลงาน
















✔ 

8
นำเสนอโครงงาน
















✔ 




ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
         ผู้ที่สนใจและเข้ามาอ่านเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพมีสุขภาพที่ดีขึ้น

สถานที่ดำเนินการ 
          โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
          สุขศึกษา


แหล่งอ้างอิง http://ntppppoat.blogspot.com/2016/09/5.html